เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [7. กฐินขันธกะ] 192. อาทายปัณณรสกะ
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความ
คิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (4)
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความ
คิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย
ตกลงใจ (5)
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความ
คิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำเสียหาย การ
เดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (6)
ติกะที่ 2 จบ
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปโดยไม่ตั้งใจ1 ไม่ได้คิดว่า “จะกลับ”
แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้
นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า
กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (7)
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้คิดว่า “จะกลับ”
แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้
จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (8)
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรหลีกไปโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้คิดว่า “จะกลับ”
แต่ก็ไม่ได้คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้
นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำนั้นเกิดเสียหาย
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (9)
ติกะที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 โดยไม่ตั้งใจ คือโดยมิได้กำหนดว่า “จะกลับ จะไม่กลับ” (สารตฺถ. ฏีกา 3/312/406)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :155 }